หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แอลไคน์ (ALKYNE)

แอลไคน์ (ALKYNE)

    แอลไคน์ เป็นสารประกอบไม่อิ่มตัว (Unsaturated Hydrocarbon) มี เป็นหมู่ฟังก์ชัน  มุมพันธะ  มีค่าประมาณ 180 oสารตัวแรกของแอลไคน์  คือ อะเซทิลีน หรืออีไทน์ (C2H2)



        สูตรทั่วไป
CnH2n-2      เมื่อ n = 2,3,4………. 
ตัวอย่างสารประกอบแอลไคน์    
สูตรโมเลกุล
สูตรโครงสร้าง
C2H2

C3H4

C4H6


การเรียกชื่อแอลไคน์        
ก.  ระบบ Formula  name  คล้ายการเรียกชื่อแอลเคน  แต่เปลี่ยนพยางค์ท้ายจาก ane เป็น yne
สูตรโมเลกุล
ชื่อ
C2H2
C3H4
C4H6
C5H8
C6H10
อีไทน์  (ethyne)
โพรไพน์( propyne)
บิวไทน์( butyne)
เพนไทน์( pentyne)
 เฮกไซน์( hexyne)
ข. ระบบ IUPAC   การเรียกชื่อแอลไคน์ตามระบบนี้  คล้ายกับการเรียกชื่อแอลคีนเพียงแต่เปลี่ยนพยางค์ท้าย ชื่อของโซ่หลัก จาก ene  เป็น  yne



สมบัติของแอลไคน์
สมบัติทางกายภาพ
1.  แอลไคน์มีทั้งแก๊ส  ของเหลว  และของแข็ง
2.  ไม่ละลายน้ำแต่สามารถละลายในตัวทำละลายอินทรีย์  หรือตัวทำละลายที่โมเลกุลไม่มีขั้วหรือมีสภาพขั้วน้อย เช่น อีเทอร์ เบนซีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์   สารละลายไม่นำไฟฟ้า
3.  มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดต่ำ  แต่จะมีค่าสูงขึ้นเมื่อมวลโมเลกุลเพิ่มขี้น
จุดเดือด จุดหลอมเหลวของแอลไคน์โซ่ตรงบางชนิด      
จำนวนอะตอมของคาร์บอน
แอลไคน์
จุดหลอมเหลว
(oC)
จุดเดือด
(oC)
ชื่อ
สูตรโมเลกุล
2
อีไทน์
C2H2
-80.8*
-84.0**
3
โพรไพน์
C3H4
-102.7
-23.2
4
1-บิวไทน์
C4H6
-125.7
8.0
5
1-เพนไทน์
C5H8
-105.7
40.2
6
1-เฮกไซน์
C6H10
-131.9
71.3
*จุดหลอมเหลวภายใต้ความดัน     **อุณหภูมิที่เกิดการระเหิด
4.  แอลไคน์มีจุดหลอมเหลว   จุดเดือดสูงกว่าแอลคีนที่มีจำนวนคาร์บอนเท่ากันและลักษณะโครงสร้างทำนองเดียวกัน
                                                        (จุดเดือดแอลไคน์ > แอลเคน >  แอลคีน )
สมบัติทางเคมี
1.  มีความว่องไวในปฏิกิริยามากกว่าแอลคีน เนื่องจากแอลไคน์มีความไม่อิ่มตัวมากกว่าแอลคีน
2.  ติดไฟง่ายให้ CO2  ไอน้ำ และพลังงานและมีเขม่าเกิดขึ้นมากกว่าการเผาไหม้ของแอลคีน
3.  เกิดปฏิกิริยาการเติมกับธาตุแฮโลเจนได้    ทั้งในที่สว่างและที่มืดและปฏิกิริยานี้จะเกิดได้ดีเมื่ออยู่ในตัวทำละลายที่โมเลกุลไม่มีขั้ว  เช่น  CCl4


4.  ฟอกจางสี  KMnO4 ได้
4.1  กรณีแอลไคน์ที่มีพันธะสามอยู่ที่อะตอมของคาร์บอนตำแหน่งที่ 1  จะเกิดปฏิกิริยาดังสมการ
  3RC=CH  + 8KMnO4 + 4H2O   3RCOOH  +  3CO2  +  8MnO2  +  8KOH
4.2  แอลไคน์ที่มีพันธะสามอยู่ที่คาร์บอนตำแหน่งอื่น เมื่อเกิดปฏิกิริยาจะเขียนสมการได้ดังนี้



5.  เกิดปฏิกิริยาการเติมด้วย H2O (hydration)



          
                 ===>



6.   เกิดปฏิกิริยาการเติมด้วย H2(hydrogenation)



           ===>                     



7.  เกิดปฏิกิริยาการเติมด้วย HX (addition of HXหรือ hydrogenhalogenation) 




ประโยชน์ของแอลไคน์
อีไทน์ หรือ ชื่อสามัญว่าอะเซทิลีน(C2H2) มีสถานะเป็นแก๊ส  เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมคาร์ไบด์(CaC2)กับน้ำ ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แสงสว่าง  แก๊สนี้ผสมกับแก๊สออกซิเจนในอัตราส่วนพอเหมาะเมื่อติดไฟจะได้เปลวไฟ  ออกซีอะเซทิลีนซึ่งให้ความร้อนสูงถึง 3000 C  ใช้ประโยชน์ในการเชื่อมและตัดโลหะ นอกจากนี้ยังใช้แก๊สอะเซทิลีนแทนแก๊สเอทิลีน(C2H4)เพื่อเร่งการออกดอกของพืชและเร่งให้ผลไม้สุกเร็วขึ้น  ปฏิกิริยาการเตรียมอีไทน์เป็นดังสมการ
                CaC2(s)  +  2H2O(l)       HC=CH(g)  +  Ca(OH)2(aq)
ในอุตสาหกรรมเตรียมอีไทน์จากมีเทนโดยการให้ความร้อนสูงๆในระยะเวลาที่สั้นมากๆ ปฏิกิริยาแสดงดังสมการ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น